วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Tablet

Tablet คือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนไหวได้ มีปากกาไว้ขีดเขียน บนหน้าจอ หรือจะพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ด(เสมือนจริง)ที่ปรากฎบนหน้าจอโดยใช้นิ้วสัมผัสก็ ได้
แท๊บเล็ต Tablet มี2 ความหมายหลักๆ ด้วยกันคือ Tablet PC กับ Tablet Computer

Tablet PC (
แท๊บเล็ต พีซี) คือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นหลัก มีแป้นพิมพ์บนหน้าจอใช้ในการสัมผัสพิมพ์ Tablet PC ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภาย ใน

Tablet Computer(แท๊บเล็ต คอมพิวเตอร์) หรือเป็นที่ รู้จักสั้นว่า Tablet คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลาง โดยใช้หน้าจอระบบสัมผัส(capacitive)ในการทำงานเป็นหลัก และสามารถใช้นิ้วสัมผัสได้โดยตรง และสัมผัสพร้อมกันได้ทีละหลายๆจุดได้ หรือ Multi touch มีปากกาดิจิตอลใช้ทำงานแทนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดได้ หรือว่าจะใช้คีย์บอร์ดเสมือนจริง ใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ใช้อินเตอร์เน็ตได้





การใช้ Tablet ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- การประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน คือ ให้เด็กเล่นเกมส์เกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ หาร จำนวนเลขต่างๆ แล้วครูผู้สอนก็นำมาเชื่อมโยงกับวิชาคณิตศาสตร์เด็กก็จอยากเรียนเพราะได้เล่นเกมส์แล้วยังได้ความรู้อีกด้วย ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ

Social Media

Social Media คือ ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดสำหรับคนยุคใหม่ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสังคมผ่านทางเว็บไซต์ อย่างเช่น กลุ่มคนรักกีฬา คนรักรถ คนรักสุนัข การรณรงค์ในเรื่องต่างๆ หรือแม้กระทั่งการรวมกลุ่มของผู้ชื่นชอบแบรนสินค้า โดยในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้แล้วว่า เครื่องมือชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากที่ช่วยให้คนเรานั้นติดต่อสื่อสารกัน ได้อย่างรวมเร็วมากยิ่งขึ้น การได้รับข่าวสารได้ทันถ่วงที ถ้าพูดถึงจุดเด่นของ Social Media ที่ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากคือ การที่ทุกคนสามารถเป็นได้ทั้งผู้รับสาร และผู้ส่งสาร ทุกคนสามารถบอกถึงความคิด ความต้องการ จุดประสงค์ของตัวเองได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดไว้เหมือนในอดีตที่สามารถรับฟังได้เพียงอย่างเดียว ทำให้หลายๆหน่วยงานมักนำ Social Media มาปรับใช้ เพื่อสร้างช่องทางสื่อสารให้กับตัวธุรกิจ และยังสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ลูกค้า
     Social Media
ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ
          - facebook
          - twitter
          - google+






     การใช้ Social Media  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
              - ให้นักเรียนส่งงานทาง Facebook เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว หรือ ครูผู้สอนอาจให้นักเรียนตั้งกลุ่มขึ้นมาใน Facebook เพื่อไว้สำหรับส่งงานและสั่งงาน    

Video Conference

Video Conference คือ ระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสานระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน



   การใช้ Video Conference ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- จัดการเรียนรู้ผ่านระบบการสื่อสารในแบบการประชุมทางไกล
 -
ให้ผู้สอนหรือวิทยากรเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถมีปฏิสัมพันธ์สื่อสารและสนทนากับผู้เรียนได้

Web Quest

Web Quest  คือ เป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัยและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต

การจัดการเรียนการสอนด้วย WebQuest กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเอง ที่ได้มีการจัดการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ ผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมและรายละเอียดเพิ่มเติม ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมนี้ได้ที่  http://www.webquest.org/
ตัวอย่าง WebQuest ในประเทศไทย
http://www.scimath.org/index.php/computerarticle/item/1489-web-quest

e-Book

e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์   คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป


การใช้ e-Book ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.สามารถเชื่อมโยงกับข้อความต่างๆ ภายในตัวหนังสือหรือภายนอกเว็บไซต์อื่นๆ จากอินเทอร์เน็ตและยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆที่เรียนได้อีกด้วย
ตัวอย่างเว็ปไซต์ e-Book
http://www.thaiebook.org/t0103/index.php

Blog

 Blog คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง เรื่องหรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่งไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง





การใช้บล็อก (Blog) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการค้นคว้าข้อมูลตามหัวข้อที่ครูกำหนด แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
4.
เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้อื่นที่ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าต่อไป



e-Learning

e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์(On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
    1. สื่อเสริม (supplementary) นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสารประกอบการสอน เป็นต้น การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้ผู้สอนเพียงต้องการให้ผู้เรียนมีทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการเข้าถึงเนื้อหา
      2. สื่อเติม (complementary) ผู้สอนออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning
     3. สื่อหลัก (comprehensive replacement) เป็นการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์
ตัวอย่างเว็ปไซต์ที่มีการเรียนการสอน e-Learning
http://e-learning.tu.ac.th/demoLMS/demoLMS.html
http://edltv.thai.net/

E-Mail

E-Mail (Electronic Mail) คือ จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง



 ตัวอย่าง
 -การส่งงานให้อาจารย์ผ่านทาง E-mail ทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่า




วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เรื่องของปลา



                                                                                                                                               
                                                                โดย ... สุทธิพงษ์  พงษ์วร
         
     คุณเคยนั่งทอดอารมณ์ นั่งชมปลา แหวกว่ายธาราอยู่ไหวๆ หรือไม่ คาดว่าส่วนใหญ่คงต้องเคยทำแบบนี้มาแล้ว เอาน่า…ถ้าคุณยังไม่เคย ก็อยากให้คุณได้ลองทำดูสักครั้ง และลองสังเกตดูวิธีการว่ายน้ำของปลาเหล่านี้ เพื่อดูว่าทำไมปลาแต่ละชนิดถึงมีวิธีการว่ายน้ำแตกต่างกันไปได้ อาทิ เช่น ทำไมปลาเทวดา (Pterophyllum sp.) ถึงว่ายน้ำด้วยท่าทางแบบนั้น  ทำไมปลาทอง (Carassius sp.) ถึงว่ายน้ำด้วยท่าทางแบบนี้ ถ้ายกตัวอย่างเจ้าสองชนิดนี้ขึ้นมา เชื่อว่าผู้อ่านจะต้องเห็นความแตกต่างและสามารถหาคำตอบมาอธิบายได้คร่าวๆ บ้าง ว่าทำไมเจ้าปลาทั้งสองชนิดถึงได้มีลีลาท่าทางของการว่ายน้ำที่แตกต่างกัน และทำไมมันไม่เคยว่ายน้ำชนกันโครมครามเหมือนเวลาที่คนขับรถชนกันบนท้องถนน สักที นอกจากมันจะตั้งใจว่ายน้ำมาต่อสู้กับศัตรู หรือเข้ามาสีกับคู่รักของมันเท่านั้น

ความเหมือนในความแตกต่าง   
        
    ความเหมือนก็คือปลาทั้งสองชนิดที่ยกตัวอย่างมาก่อนหน้านี้ก็คือมันต่างก็มี ครีบหาง ครีบหลัง 
ครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น เหมือนๆ กัน ความแตกต่างก็คือ ลักษณะของครีบ และรูปทรงของลำตัวปลาทั้งสองชนิดแตกต่างกัน รูปทรงของลำตัวและรูปร่างของครีบนี่เองที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของการเคลื่อน ไหว และการเลือกที่อยู่อาศัย และแหล่งหากินของปลาแต่ละชนิด ลองนึกเล่นๆ ถ้าคุณเกิดเป็นปลาที่มีรูปร่างเทอะทะ ครีบยาวรุงรัง อย่างเจ้าปลาทอง แล้วยังเลือกที่จะเข้าไปอยู่ในรูในดินโคลน ในโพรงดินใต้น้ำ มันก็กระไรอยู่ ครั้นจะเข้าออกจากโพรงแต่ละทีก็จะทำให้เก้งก้าง เกะกะและในที่สุดก็จะตกเป็นเหยื่อของผู้ล่าไปในที่สุด สุดท้ายก็จะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ก่อนเวลาอันควร ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะไม่เห็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามประหนึ่งนางแบบนาย แบบปลา ว่ายน้ำร่อนไปร่อนมาอวดโฉมให้ชมกันง่ายๆ ถ้ามีให้เห็น ก็ต้องอาศัยอยู่ใกล้ๆ ที่หลบซ่อนสักหน่อย หรือโพรงที่พร้อมจะให้ว่ายหลบเข้าไปยามที่มีภัยมาได้ (พลันให้นึกถึงการคัดเลือกทางธรรมชาติขึ้นมาในทันที หนังสือเรียนชีววิทยา เล่ม 5 หน้า 125-127 )

   จริงๆๆ แล้ว ปลาทองในธรรมชาติไม่ได้มีครีบยาวดูรุงรังแบบที่เราเห็นขายกันตามร้านขายปลาทองแต่ดูเผินๆออกจะคล้ายปลาตะเพียนด้วยซ้ำไปสามารถดูรูปได้จาก http://www.thejump.net/id/wild-goldfish.htm หรือที่ http://web.ukonline.co.uk/mark.smith/instp.html เลื่อนลงมาดูรูปที่ห้านะครับ 
       ผู้อ่านลองพิจารณาถึงรูปทรงของปลานิลและปลาดุก รวมถึงลักษณะของการว่ายน้ำ และแหล่งที่อยู่อาศัยของปลานิล ปลาดุก ดังภาพข้างล่าง ก็จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดกับระบบนิเวศที่ เปลี่ยนแปลงไป (ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือที่มนุษย์พยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น) 




 
ภาพที่ 1 แสดงครีบปลาแต่ละชนิด
หน้าที่และการทำงานของครีบแต่ละชนิดของปลา
         นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาหน้าที่และการทำงานของครีบปลาแต่ละชนิดไว้ และสามารถอธิบายได้คร่าวๆ ดังต่อไปนี้
     ครีบปลาเป็นรยางค์สำหรับช่วยในการเคลื่อนที่ ลอยตัวหยุดนิ่งหรือหยุดการเคลื่อนที่  ครีบปลาที่จะได้รู้จักโดยทั่วไป ก็มีครีบหลัง (dorsal fin)ครีบหาง (caudal fin)ครีบก้น (anal fin)ครีบอก (pectoral fin)และครีบเอว (pelvic fin หรือ ventral fin)สำหรับปลาไม่มีเกล็ด (catfish)จะมีติ่งเนื้อด้านหลังครีบหลัง เราเรียกว่า ครีบไขมัน (adipose fin หรือ fat fin)
      ครีบหลังและครีบก้นจะช่วยไม่ให้ตัวปลาเกิดการควง สว่านในขณะที่ว่ายน้ำไปข้างหน้า ส่วนครีบหางก็จะเป็นครีบหลักที่ช่วยทำให้ปลาว่ายน้ำเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ส่วนครีบคู่อื่นๆ จะช่วยในการลอยตัวอยู่กับที่ ลอยตัวขึ้นด้านบนผิวน้ำ หรือหยุดการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า
คลิกเพื่อดูแอนิเมชั่นประกอบบทความ
http://www.ipst.ac.th/biology/LearningObjects/FishSwimming/intro.swf

ลักษณะอื่นๆ ที่พึงสังเกตได้ของปลา
       รูปร่างของปาก จะบอกได้ถึงลักษณะของอาหารที่ปลากินเข้าไปเบื้องต้น เช่น ปลาที่มีปากขนาดใหญ่ก็น่าจะกินอาหารที่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย (แต่ก็ไม่เป็นเช่นนี้ในทุกกรณี)
      เส้นข้างลำตัว(lateral line)จะมีถุงบรรจุเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเรียงตัวอยู่ตามเส้นข้างลำตัวของ ปลา และถุงนี้จะมีรูเปิดออกด้านนอกเพื่อตรวจจับแรงดันของคลื่นน้ำต่างๆ ที่อยู่รอบตัวปลา ทำให้ปลาสามารถรับรู้ได้ว่า มีใครไปใครมาหรือมีวัตถุอะไรอยู่ข้างๆ ตัวหรือไม่
      รูเปิดของทางเดินอาหาร ท่อกำจัดของเสียจากไตและระบบสืบพันธุ์ เป็นท่อเปิดร่วมกันอยู่ด้านหน้าของครีบก้น
      แผ่นปิดเหงือก มีโครงสร้างแข็งเพื่อป้องกันเหงือกที่อยู่ภายใน และใช้เป็นทางออกของน้ำที่ไหลผ่านออกมาจากเหงือกหลังจากที่มีการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว

มหัศจรรย์เซ็นเซอร์บอกการเคลื่อนไหว
      มาตอบคำถามที่เกริ่นไว้ในตอนต้นกันดีกว่า คำตอบที่ได้ บางคนอาจจะตอบว่าที่ปลาว่ายน้ำไม่ชนกัน ก็เพราะปลามีตา ก็สามารถมองเห็นได้ แต่….ตาของปลาอยู่ด้านข้าง แถมยังไม่มีคอให้หมุนได้เหมือนคนหรือสัตว์อื่นๆ ทั่วๆ ไป ทำให้มุมมองของภาพที่เห็นไม่กว้างพอที่จะระวังภัยได้รอบตัว

      ปลาจึงต้องอาศัยประสาทสัมผัสส่วนอื่นมาช่วยเสริมการรับรู้ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เจ้าสิ่งที่มาช่วยทำให้ปลารับรู้ความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ รอบตัวก็คือเส้นข้างลำตัว หรือ lateral line ที่เส้นข้างลำตัวปลาจะมีประสาทรับรู้แรงสั่นสะเทือนของคลื่นน้ำ ทำให้ปลากะระยะ และทิศทางการเคลื่อนที่เพื่อจะไม่ให้ว่ายน้ำชนกันได้ ปลาจะกะระยะทางของสิ่งต่างๆ ได้จากระดับความแรงของคลื่นน้ำ ซึ่งเมื่อกระทบกับปลายเส้นประสาทที่อยู่บริเวณเส้นข้างลำตัวแล้ว แรงสั่นสะเทือนก็จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานเคมีและถูกส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาท แปรผลข้อมูลออกมาเป็นระยะทางของสิ่งต่างๆ ตามความแรง และทิศทางของการสั่นสะเทือนของคลื่นน้ำ
ภาพที่ 3 ภาพวาดแสดงเส้นข้างลำตัวและการรับรู้แรงสั่นสะเทือนของคลื่นน้ำ


เอกสารอ่านเพิ่มเติม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 1. 255 หน้า.

http://www.floridaconservation.org/fishing/Fishes/anatomy.html  Fish Anatomy
ใบไมเปลี่ยนสี
                                                                                                                                                                                           โดย.. นางสาวสาวินีย์  หมู่โสภณ     

     เมื่อลมหนาวมาเยือน หลายๆ คน คงสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบๆ ตัว โดยเฉพาะ ต้นไม้ที่เจริญในเขตอบอุ่น ส่วนที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนคือ ส่วนของใบ โดยใบไม้ที่มี สีเขียว จะมีการเปลี่ยนสีที่แตกต่างกันไป บ้างก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน สีส้ม สีแดง และสีน้ำตาล เมื่อเวลา ผ่านไปสักระยะหนึ่งใบไม้ที่มีการเปลี่ยนสีต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะกลายเป็นเป็นใบไม้แห้งร่วงหล่นจากต้นลงสู่พื้นดิน กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศต่อไป
 
      สีเขียวของใบไม้เกิดขึ้นเนื่องมาจากสารสีคลอโรฟิลล์ พบอยู่ในคลอโรพลาสต์ (chloroplast) ซึ่งมี โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงแบนๆ มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylacoid) และบนไทลาคอยด์นี้เองที่มี คลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ในการรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการสร้างอาหาร ของ พืชด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งกระบวนการสร้างอาหารของพืชจะเกิดขึ้น บริเวณส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช เช่น ใบ 
 
 
 
ทำไมใบไม้เปลี่ยนสี ????       
       ในเซลล์พืชนอกจากสารสีคลอโรฟิลล์ที่ทำให้พืชมีสีเขียวแล้ว ยังมีสารสีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็น สารประกอบประเภทไขมัน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ในพืชชั้นสูงสารสีแคโรทีนอยด์ อยู่ในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วย สารสี 2 ชนิด แคโรทีน (carotene) เป็นสารสีแดงหรือสีส้ม หากมีสารสีคลอโรฟิลล์และสารสี แคโรทีน อยู่ในใบเดียวกัน จะสะท้อนแสงสีแดง เขียวแกมน้ำเงินและแสงสีน้ำเงิน ทำให้ใบมีสีเขียว แซนโทฟิลล์ (xantrophyll) เป็นสารสีเหลืองหรือสีน้ำตาล   ในเซลล์พืชโดยปกติมีสารสีทั้ง 3 ชนิด แต่ถ้ามีสารสีชนิดใดมากกว่า พืชชนิดนั้นก็จะปรากฏให้เห็นสี ของสารสีชนิดนั้น ๆ เช่น ใบของต้นมะม่วงสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์อยู่มาก พืชต้องการแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตคลอโรฟิลล์ เพื่อใช้ในการสร้างอาหารโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งปกติพืชจะมีการสร้างคลอโรฟิลล์อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ใบไม้มีสีเขียว แต่ใบไม้เหล่านี้ ก็จะมีการเปลี่ยนสีได้ เมื่อมีการเปลี่ยนสีได้ เมือมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เพราะ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของช่วงความยาว ของวัน กล่าวคือ ในช่วงฤดูหนาวจะมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าในช่วงฤดูร้อน และมีช่วงเวลากลางคืนที่นานกว่า ฤดูร้อน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อปริมาณแสงที่พืชได้รับ คือ ในช่วง ฤดูหนาวพืชได้รับแสงในปริมารน้อยลง และอุณหภูมิก็มีค่าต่ำลง พืชจึงมีการตอบสนอง โดยการสร้างคลอโรฟิลล์ ในปริมาณที่น้อยลง และในขณะเดียวกันคลอโรฟิลล์ที่มีอยู่เดิมก็จะสลายตัวอยู่ตัวตลอดเวลา ใบไม้ที่มีสีเขียว จึง เริ่มมีการเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองหรือส้ม แดง จนในที่สุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงลงสู้พื้นดิน (เข้าสู่กระบวนการร่วงของใบ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ปี 2545 เรื่อง ต้นไม้สลัดใบ) 

        ถ้าพืชไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียว สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้หรือไม่ ?

             
         คลอโรฟิลล์ไม่เพียงทำให้พืชมีสีเขียวเท่านั้น โดยคลอโรฟิลล์ เอ ให้สีเขียวเข้ม คลอโรฟิลล์ บี ให้สี เขียวอ่อน คลอโรฟิลล์ ซี ให้สีส้ม คลอโรฟิลล์ ดี ให้สีน้ำตาล ดังนั้นพืชที่ไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียวก็ไม่ได้หมายถึง ไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่อย่างไรก็ตามพืชที่จะสามารถสังเคราะหืด้วยแสงได้จะต้องมีสารสีคลอโรฟิลล์ เอ ที่เป็น สารสีหลักที่จะถ่ายทอดอิเล็กตรอนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ... ดังนั้นแม้พืชทีไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียว จึงมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้ 
   
เอกสารอ้างอิง
 

ชวนพิศ แดงสวัสดิ์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. พัฒนาศึกษา: กรุงเทพฯ. 
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2548. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยาเล่ม 4  กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. 
The effect of light on Maple leaf color change. online. Available)  :http://pm.appstate.edu/~goodmanj/leaves/leaves.html (Retrieved 27/09/07)
why leaves change color in fall.Online. (Available): http://www.kidzone.ws/plants/autumn1.html  (Retrieved 25/07/07)
why do leaves change color. online (Available): http://www.dnr.state.wi.us/org/caer/ce/eek/veg/trees/treestruecolor.html (Retrieved 07/12/06)
Why leaves change colour . Online. (available):  http://www.naturedetectives.org.uk/NR/rdonlyres/813ECD-4ED1-379000319ACF/0/leaveschangecolour.pdf. (Retrieved 25/07/07)
 
โรคชราในเด็ก Hutchinson-Gilford Progeria Syndrome (HGPS)

นภาพันธุ์   เรืองเสถียรทนต์
       
    เป็นที่ทราบดีแล้วว่าสัตว์และมนุษย์มีวัฏจักร ชีวิตเวียนวนกันไปตั้งแต่เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  ซึ่งภายในร่างกายของสัตว์และมนุษย์ก็เช่นเดียวกันที่พบว่า เซลล์มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นใหม่ทดแทนเซลล์เดิมที่เสื่อมสภาพและตายไปได้  นอกจากนี้เซลล์ที่เจริญเติบโตย่อมมีการชราภาพเกิดขึ้นได้ด้วย  เนื่องจากเมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นมักจะมีการสะสมของเสียเพิ่มขึ้น และการชราภาพของเซลล์อาจเกี่ยวข้องกับยีนด้วย  ดังนั้นการชราภาพของเซลล์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดอายุขัยของสิ่งมีชีวิต  นอกจากนี้อายุขัยของสิ่งมีชีวิตควบคุมโดยยีนและสิ่งแวดล้อม   ความผิดปกติที่เซลล์แก่ตัวเร็วกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคชราในเด็ก Hutchinson-Gilford Progeria Syndrome (HGPS) หรือที่รู้จักในชื่อโรคโปรเจเรีย หรือเวอร์เนอร์ซินโดรม (Progeria หรือพบในเด็กได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย  เป็นโรคที่พบได้เพียง 1 ใน 8 ล้านคน โดย 90% ของเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้เกิดจากการมิวเทชันของยีน Lmna  ทำให้การสังเคราะห์โปรตีน laminA ผิดปกติ  เซลล์จะแก่ตัวเร็วกว่าคนปกติ  ลักษณะของเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเหมือนเด็กปกติใน 10 - 24 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเจริญเติบโตช้ามาก รูปร่างแคระแกรน  เตี้ย น้ำหนักน้อย  แก่เร็ว  และเหนื่อยง่าย  อาการต่างๆ ที่ปรากฏ เช่น  Werner Syndrome)
     - กะโหลกศีรษะบาง ไม่ได้สัดส่วน  บริเวณหน้าอกจะมีลักษณะคล้ายผลลูกแพร  กระดูกผุ มีอาการข้อยึดเพราะมีผังผืดอยู่บริเวณข้อ  กระดูกสะโพกเคลื่อน  ลักษณะขาจะถ่างออกคล้ายลักษณะคนขี่ม้า
    - กระดูกบริเวณหน้าไม่เจริญ   ใบหน้าและขากรรไกรมีขนาดเล็กกว่าปกติ  ตาโปน  จมูกลีบเล็กและโด่งแหลม  เสียงแหลมเล็ก  ฟันน้ำนมและฟันแท้ขึ้นช้ากว่าปกติ ขึ้นไม่เป็นระเบียบและหลุดง่าย  ผมและขนจะหลุดล่วง ศีรษะล้าน
      - ผิวหนังเหี่ยวย่นคล้ายคนแก่   ผิวหนังบริเวณศีรษะจะบางใสจนมองเห็นเส้นเลือดชัดเจน
      - เล็บผิดปกติ เริ่มเห็นได้ตั้งแต่วัยทารก เล็บหักง่ายและมีสีเหลือง หรือในบางรายจะไม่มีเล็บเลย
      เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีสุขภาพเสื่อมลงทุกปี  โดยเมื่อผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 10 ปี ก็จะมีอาการป่วยต่างๆ เหมือนในผู้สูงอายุ เช่น มีอาการของโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น  มีภาวะความดันโลหิตสูง  โรคข้ออักเสบ  ในผู้ป่วยบางรายต้องทำการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (Bypass)  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว  และโรคหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว 
     ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ มีเพียงแต่รักษาตามอาการ หรือการทำ Lmna testing เพื่อตรวจดูในระดับโมเลกุลของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์  ผู้ป่วยโรคโปรไจเรียทั่วโลกถึงแม้จะแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ แต่ลักษณะอาการของโรคจะแสดงออกมาเหมือนกัน และมักจะเสียชีวิตในช่วงอายุ 8 - 21 ปี หรือเฉลี่ยอายุประมาณ 13 ปี
alt

ภาพแสดงลักษณะของผู้ป่วยโรคชราในเด็ก 
ที่มา :  http://rationalrevolution.net/articles/understanding_evolution.htm (Retrieved 16/03/2010)
 
 
alt
ที่มา : http://www.med.upenn.edu/timm/documents/HGPSreview.pdf (Retrieved 16/03/2010)

เอกสารอ้างอิง 
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. 2544. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยาเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 6. องค์การค้าของ สกสค, กรุงเทพมหานคร. 
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. 2544. คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยาเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. องค์การค้าของคุรุสภา, กรุงเทพมหานคร. 
Pollex, R. L., & Hegele, R. A. (2004). Hutchison-Gilford progeria syndrome. Clin Genet, 66, 375-381.
http://www.med.upenn.edu/timm/documents/HGPSreview.pdf (Retrieved 16/03/2010)
www.nih.gov/about/researchresultsforthepublic/Progeria.pdf - (Retrieved 16/03/2010)
http://www.medicalnewstoday.com/articles/146746.php (Retrieved 16/03/2010)
http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001657.htm (Retrieved 14/03/2010)
http://www.progeriaresearch.org/(Retrieved 16/03/2010)
http://rationalrevolution.net/articles/understanding_evolution.htm (Retrieved 16/03/2010)
เกร็ดความรู้เรื่องเห็ด
                                                                        นางสาวยุวศรี  ต่ายคำ
          

          เห็ด (mushroom) เป็นราที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าราชนิดอื่นๆ มีเซลล์แบบยูคาริโอต (Eukaryotic cell) จัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ (kingdom Fungi) ส่วนใหญ่จัดอยู่ในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (Basidiomycota) และไฟลัมแอสโคไมโคตา (Ascomycota) เห็ดไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงเองได้เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์ มีการเจริญเติบโตเป็นเส้นใยที่แตกแขนงเรียกว่าไฮฟา (hypha) ซึ่งกลุ่มของเส้นใยเหล่านี้เรียกว่าไมซีเลียม (mycelium) เห็ดที่พบเห็นทั่วไป ส่วนใหญ่อยู่ในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้สปอร์ที่เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) โดยสปอร์ของเห็ดจะเกิดและติดอยู่บนก้านรูปกระบองที่เรียกว่าเบซิเดียม (basidium) ซึ่งเรียงกันอยู่บนครีบ (gills) หรือในรู (pores) ส่วนเห็ดที่อยู่ในไฟลัมแอสโคไมโคตาจะสร้างสปอร์ที่เรียกว่าแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงที่เรียกว่าแอสคัส (ascus) ที่อยู่ภายในแอสโคคาบ (ascocarp)
       วัฎจักรชีวิตของเห็ดทุกชนิดจะมีลักษณะคล้ายกัน โดยเริ่มจากการที่สปอร์ปลิวไปตกอยู่ตามที่ต่างๆ และหากปลิวไปตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกขึ้นเป็นไฮฟา และกลุ่มของไมซีเลียม จากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเกิดเป็นเห็ด ซึ่งถ้าเห็ดเจริญเติบโตก็จะสามารถสร้างสปอร์ขึ้นใหม่และปลิวไปงอกเป็นไฮฟาได้อีก
        เห็ดมีรูปร่างแตกต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปโครงสร้างของเห็ดจะประกอบด้วยส่วนที่เป็นหมวกเห็ด (cap) ส่วนที่เป็นครีบ (gill หรือ lamella) ส่วนที่เป็นก้าน (stalk) แผ่นวงแหวน (annulus หรือ ring) เยื่อหุ้มดอกเห็ด (volva) และเกล็ด (scale)
 
ภาพส่วนประกอบของเห็ด
ที่มาภาพ: http://www.findaus.com/beverleyednie/prints.htm
         
        เห็ดมีทั้งเห็ดที่รับประทานได้ (edible mushroom) และเห็ดที่มีพิษ (poisonous mushroom) เห็ดที่รับประทานได้มีอยู่หลายชนิด และที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น เห็ดฟาง (straw mushroom) เห็ดนางฟ้า (sajor-caju mushroom) เห็ดเข็มทอง (golden needle mushroom) เห็ดหอม (shiitake mushroom) เห็ดเป๋าฮื้อ (abalone mushroom) เห็ดนางรมหลวง (the king oyster mushroom) เป็นต้น

เห็ดฟาง

เห็ดนางฟ้า
เห็ดเข็มทอง 

เห็ดหอม

เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดนางรมหลวง
 
         เห็ดที่รับประทานได้เหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารเพราะเป็นแหล่งของเส้นใย (fiber) และวิตามิน เช่น วิตามิน B1 (thiamin) วิตามิน B2 (riboflavin) วิตามิน B3 (niacin) เป็นต้น นอกจากนั้นมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และสังกะสี เป็นต้น นอกจากนี้เห็ดยังมีสารประกอบหลายชนิดที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น
         1. เห็ดยามาบูชิตาเกะ (hedgehog mushroom) ถูกนำไปใช้เป็นยาในการรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
 
ภาพเห็ดยามาบูชิตาเกะ
ที่มาภาพ: http://www.mushroomexpert.com/images/kuo/hericium_erinaceus_02big.jpg
         
       2. เห็ดหอม มีสารสำคัญที่มีชื่อว่า อิริตาเดนีน (eritadenine) ช่วยลดระดับคอเลสเทอรอลในเลือดได้ และมีสารเลนทิแนน (lentinan) ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพเพื่อสามารถยับยั้ง และป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกต่างๆ ได้
 
ภาพเห็ดหอม
ที่มาภาพ: http://www.grzyby.consoft.com.pl/grzyby/Pb211021.jpg
         
      3. เห็ดไมตาเกะ (maitake mushroom หรือ king of mushroom) ช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลินและช่วยควบคุมระดับคอเลสเทอร อลและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด เป็นต้น
 
ภาพเห็ดไมตาเกะ
ที่มาภาพ: http://www.nutritionalmushrooms.com/images/Grifola%20frondosa%20%28Maitake%29.jpg
         
        ส่วนเห็ดที่รับประทานไม่ได้หรือเห็ดที่มีพิษนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด บางชนิดมีรูปร่างคล้ายเห็ดที่รับประทานได้แต่จะมีสีสันที่ฉูดฉาดมากกว่า เช่น เห็ดที่อยู่ในสกุลAmanita ซึ่งสารพิษของเห็ดกลุ่มนี้คือ Amanitin หรือ Amatoxin ซึ่งหากรับประทานเข้าไปจะมีผลต่อลำไส้ และระบบทางเดินอาหาร ทำให้รู้สึกวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องอย่างรุนแรงหรืออาจเกิดอาการท้องร่วงได้
 
ภาพเห็ดพิษชนิด Amanita muscaria
ที่มาภาพ: Tortora, Microbiology an introduction. 8th ed. Benjamin Cummings publishing, San Francisco, 2004.  
         
        นอกจากนั้นการรับประทานเห็ดบางชนิด เช่น เห็ดเมาหรือเห็ดขี้ควาย (Psilocybe cubensis) มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางโดยจะทำให้เกิดภาพหลอนคล้ายกับเสพยาเสพติด
       ดังนั้นควรเลือกรับประทานเห็ดที่เป็นที่รู้จักทั่วไป และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดที่มีสีสันฉูดฉาด หรือมีรูปทรงแปลกๆ เช่น รูปทรงคล้ายโดม (false morels) หรือเห็ดที่มีเกล็ดอยู่บนหมวกเห็ด หรือบนหมวกเห็ดมีลักษณะขรุขระคล้ายปะการังสมอง และไม่ควรรับประทานเห็ดที่เก็บไว้นานเพราะอาจเกิดการเน่าเสียหรือมีสารพิษตก ค้าง หรือไม่ควรรับประทานเห็ดที่มีส่วนประกอบไม่ครบเนื่องจากเราไม่ทราบว่าส่วน ประกอบของเห็ดที่หายไปนั้นอาจจัดเป็นเห็ดพิษก็เป็นได้
                        
แหล่งอ้างอิง
    
   1. งานวิจัยทางการแพทย์ของเห็ดไมตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ เห็ดชิตาเกะ - Medicinal mushroom. (Online) Available: http://xn--12cl2bmc5b3af1evdc5nva0f6d.net/?p=140 retrieved on 10 October 2011.
    2. เห็ด “เชื้อราชั้นสูง” - รักบ้านเกิด.com (Online) Available:  http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1263&s=tblplant retrieved on 10 October 2011.
    3. Mushroom is a source of Vitamins, Minerals and Fibre - Bitter root restoration. (Online) Available: http://www.bitterrootrestoration.com/health-care/mushroom-is-a-source-of-vitamins-minerals-and-fibre.html retrieved on 10 October 2011.
    4. How Do I Tell If a Mushroom Is Safe to Eat ? - Life hacker. (Online) Available: http://lifehacker.com/5818201/how-to-tell-if-a-mushroom-is-safe-to-eat  retrieved on 10 October 2011.
    5. Mushroom - Mushroom Information and Educational Projects with Mushrooms. (Online) Available: http://www.gmushrooms.com/info.htm retrieved on 3 October 2011.
    6. Tortora, Microbiology an introduction. 8th ed. Benjamin Cummings publishing, San Francisco, 2004.
แหล่งอ้างอิงภาพ
    1. ภาพเห็ดฟาง (Online) Available: http://swhappinessss.blogspot.com/2010/01/blog-post_310.html retrieved on 9 November 2011.
    2. ภาพเห็ดนางฟ้า (Online) Available: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=548149 retrieved on 9 November 2011.
    3. ภาพเห็ดเข็มทอง (Online) Available: http://yellowtogreen.blogspot.com/2011/09/variety-of-mushrooms-and-their-benefits.html retrieved on 9 November 2011.
    4. ภาพเห็ดหอม (Online) Available: http://friendseat.com/Shiitake-Sushi-Recipe retrieved on 9 November 2011.
    5. ภาพเห็ดเป๋าฮื้อ (Online) Available: http://www.weego.in.th/service_products_detail.aspx?pd=WGS1100265 retrieved on 9 November 2011.
    6. ภาพเห็ดนางรมหลวง (Online) Available: http://www.mycophiles.com/products/product/15 retrieved on 9 November 2011.
เลือดประจำเดือนเป็นเลือดเสียจริงหรือ
                                                                             
จิตราภรณ์    บุญถนอม
         
        ประจำเดือนเป็นเลือดเสียจริงหรือ  เป็นคำถามที่ผู้หญิงหลายคนเคยสงสัยเมื่อต้องรับมือกับเลือดประจำเดือนที่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกเดือนเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์  ซึ่งไม่แปลกหากจะเกิดคำถามนี้ขึ้น เพราะสิ่งที่ร่างกายขับออกมาไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่อ ล้วนแล้วแต่เป็นของเสีย แล้วเลือดประจำเดือนจัดว่าเป็นของเสียที่ร่างกายขับออกมาหรือไม่
   เริ่มต้นจากการความหมายของคำว่า “เลือดเสีย” ก่อน  ถ้าผู้เขียนให้ความหมายแรกของ  “เลือดเสีย”   คือ“เลือดที่หมดอายุ”  ฟังดูคล้ายกับ “นมที่หมดอายุ” ที่ระบุไว้บนกล่องนม หรือ ในความหมายที่ สอง “เลือดเสีย” คือ “เลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก” หรือเลือดที่นำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอวัยวะส่วนต่างๆ กลับเข้าสู่ปอด ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนขอเรียกว่า “เลือดดำ” จากนั้นมาทำความเข้าใจกับแต่ละความหมายดังนี้
   ในความหมายแรก “เลือดเสีย” คือ “เลือดที่หมดอายุ” ดังนั้นเลือดจึงมีอายุใช่หรือไม่ คำตอบคือใช่  เพราะเลือด (blood)  ประกอบด้วย เซลล์เม็ดเลือด (blood cell) และน้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma)  เซลล์เม็ดเลือดประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell) ซึ่งมีอายุประมาณ 120 วัน สร้างที่ไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell) ชนิดแกรนูโลไซต์ (granulocyte)   มีอายุประมาณ 
3 – 5 วัน ส่วนชนิดอะแกรนูโลไซต์ (agranulocyte)  มีอายุมากถึง 100 – 300 วัน  เซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างขึ้นที่ไขกระดูก  และเกล็ดเลือดหรือเพลตเลต (platelet)  มีอายุประมาณ 5 - 9 วัน    ดังนั้นส่วนประกอบของเลือดล้วนแล้วแต่มีอายุทั้งสิ้น แต่เมื่อเซลล์เม็ดเลือดเหล่านั้นเสื่อมลง หรือที่ผู้เขียนเรียกว่า เลือดหมดอายุนั้นจะถูกทำลายที่ตับและม้าม
    ส่วนในอีกความหมายของของผู้เขียนเองว่า “เลือดเสีย”  คือ เลือดดำ  ซึ่งต้องทำความเข้าใจคำว่า เลือดดำ เสียก่อนว่า  เลือดดำจะไหลอยู่ภายในหลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจที่เรียกว่า หลอดเลือดเวน (venous blood vessel) ภายในหลอดเลือดเวนคือเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก ซึ่งเลือดดำดังกล่าวจะถูกลำเลียงไปยังปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สโดยจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกและรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาแทนที่  จากเลือดดำก็กลายเป็นเลือดแดง (เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูง) แล้วจจะถูกส่งไปเลี้ยงตามเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายต่อไป
    ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นความหมายของเลือดหมดอายุหรือเลือดดำก็ตาม ต่างก็ถูกกำจัดไปด้วยระบบของร่างกายที่แตกต่างกันแต่ไม่ใช่ในส่วนของเลือดประจำเดือน  แล้วเลือดประจำเดือนคืออะไร  
 
แผนภาพแสดงวัฎจักรของประจำเดือน
ที่มาภาพ   http://nursingcrib.com/news-blog/physiology-of-menstruation/
          
เลือดประจำเดือนมาจากวัฏจักรของประจำเดือน (menstrual cycle) คือ เมื่อไฮโพทาลามัส (hypothalamus) หลั่งฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (gonadotropin releasing hormone) มายังต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary gland)  ซึ่งจะทำให้สมองส่วนนี้หลั่งฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (follicle stimulating hormone; FSH) และ ลูทิไนซิงฮอร์โมน (lutinizing hormone; LH) ออกมา ซึ่งฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นให้ฟอลลิเคิล (follicle) จำนวนมากในรังไข่เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยกัน หลังจากวันที่   9 – 11 ของรอบเดือน ปกติไข่จะเจริญต่อไปเพียงใบเดียว โดยฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogens) ซึ่งจะทำให้เยื่อบุผนังมดลูก (endometrium) หนาขึ้น  ประมาณวันที่ 14 ฟอลลิเคิลจะแตกออกพร้อมกับปล่อยไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ เรียกว่า การตกไข่ (ovulation)  จากนั้นฟอลลิเคิลที่แตกออกแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อสีเหลือง  ที่เรียกว่า คอร์ปัสลูเทียม (corpus luteum) ซึ่งจะสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone) และอีสโทรเจน เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อที่จะให้มีการตั้งครรภ์ หรือเป็นที่ฝังตัวของเอ็มบริโอ (embryo)  หากไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นหลังจากตกไข่แล้ว 12-14 วัน  คอร์ปัสลูเทียมจะฝ่อและสลายไปเอง ส่วนเยื่อบุผนังมดลูกที่หนาจะค่อยๆ หลุดลอกออกมา เรียกว่า “เลือดประจำเดือน” โดยจะไหลอย่างช้าๆ ประมาณ 3 – 5 วัน  บางครั้งอาจจะพบว่าเลือดประจำเดือนที่ออกมามีลักษณะเป็นลิ่มหรือเป็นก้อนๆ ซึ่งเป็นส่วนของเยื่อบุผนังมดลูกที่หลุดลอกออกมา และสีของเลือดประจำเดือนที่ออกมานั้นมักเป็นสีแดงคล้ำไปจนถึงสีน้ำตาล ขึ้นกับอัตราการไหลของเลือดประจำเดือน ถ้าเลือดไหลเร็ว สีของเลือดจะเป็นสีแดง ส่วนถ้าเลือดไหลช้า จะใช้เวลานานในการผ่านช่องคลอดและในขณะที่เลือดไหลอย่างช้าๆ เลือดจะสัมผัสกับกรดที่อยู่บริเวณช่องคลอดจึงทำให้สีของเลือดมีสีเข้มขึ้น  บางครั้งเห็นเป็นสีแดงเข้มถึงสีน้ำตาล ทำให้บางครั้งหลายคนเข้าใจว่าเลือดสีน้ำตาลเข้มที่ออกมานั้นเป็นเลือดเสียได้  
          จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า เลือดประจำเดือนนั้นไม่จัดว่าเป็นเลือดเสีย เพราะเป็นเยื่อบุผนังมดลูก ซึ่งรวมถึงผนังหลอดเลือด และเลือดที่มาเลี้ยงผนังมดลูก ที่หลุดลอกออกมา

เอกสารอ้างอิง
นิกร ดุสิตสิน  วีระ นิยมวัน และไพลิน ศรีสุขโข. 2545. คู่มือการสอนเพศศาสตร์ศึกษาระดับมัธยม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
ปรีชา สุวรรณพินิจ และ นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. 2547. ชีววิทยา 1. พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ
การทำงานร่วมกันระหว่างฮอร์โมนอีสโทรเจนกับโปรเจสเตอโรน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 มกราคม 2555 จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/estrogen_progeterone.htm
Strong, B., DeVault, C., Sayad B.W. and Yarber, L.W. Human Sexuality. McGraw-Hill Publishers company, United States of America. 2001.
Guyton, C. and Hall, E.J. Textbook of Medical Physiology. W.B. Saunders, Philadelphia. 1996.
Fox, S.I. Human Physiology. 6th ed. McGraw-Hill Publishers company, Boston. 1999.
Crooks, R. and Baur K. Our Sexuality. Thomson Learning, Inc, United States of America. 2005.

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

TANAPORN

Girls' Generation หรือที่รู้จักกันในชื่อ SNSD ซึ่งเป็นคำย่อของ So Nyeo Si Dae (โซ นยอ ชิ แด) เป็นกลุ่มศิลปินหญิงที่มีสมาชิก 9 คน สร้างขึ้นในปี 2007 โดย SM Entertainment

แนะนำสมาชิกวง Girls' Generation ( SNSD )

แนะนำสมาชิกคนแรก มีดีกรีเปงถึง หัวหน้าวง เชียวน๊า...
แท ยอน (TaeYeon)ชื่อจริง : คิม แท ยอน / Kim Tae Yeon / 김태연
วันเกิด : 9 มีนาคม 1989 (March 9, 1989)
ตำแหน่ง : หัวหน้าวง , Main Vocalist
ภาษา : เกาหลี, จีน
เจสสิก้า (Jessica)
ชื่อจริง : เจสสิก้า จอง / Jessica Jung
ชื่อเกาหลี : จอง ซู ยอน / Jung Soo Yeon / 정수연
วันเกิด : 18 เมษายน 1989 (April 18, 1989)
ตำแหน่ง : Lead Vocalist
ภาษา : เกาหลี, ถนัดภาษาอังกฤษ
ซันนี่ (Sunny)
ชื่อจริง : อี ซง กยู / Lee Soon Kyu / 이순규
วันเกิด : 15 พฤษภาคม 1989 (May 15, 1989)
ตำแหน่ง : Lead Vocalist
ภาษา : เกาหลี, อังกฤษ และจีน
ทิฟฟานี่ (Tiffany)
ชื่อจริง : สเตฟานี ฮวัง / Stephanie Hwang
ชื่อเกาหลี : ฮวัง มิ ยอง / Hwang Mi Young / 황미영
วันเกิด : 1 สิงหาคม 1989 (August 1, 1989)
ตำแหน่ง : Lead Vocalist
ภาษา : เกาหลี, ถนัดภาษาอังกฤษ
ฮโย ยอน (HyoYeon)
ชื่อจริง : คิม ฮโย ยอน / Kim Hyo Yeon / 김효연
วันเกิด : 22 กันยายน 1989 (September 22, 1989)
ตำแหน่ง : Supporting Vocalist/Main Dancer
ภาษา : เกาหลี, จีนกลาง
ยูริ (YuRi)
ชื่อจริง : ควอน ยู ริ / Kwon Yu Ri / 권유리
วันเกิด : 5 ธันวาคม 1989 (December 5, 1989)
ตำแหน่ง : Supporting Vocalist/Lead Dancer
ภาษา : เกาหลี, จีน
ซู ยอง (SooYoung)ชื่อจริง : ชเว ซู ยอง / Choi Soo Young / 최수영
วันเกิด : 10 กุมภาพันธ์ 1990 (February 10, 1990)
ตำแหน่ง : Supporting Vocalist
ภาษา : เกาหลี, ถนัดภาษาญี่ปุ่น
ยูน อา (YoonA)
ชื่อจริง : อิม ยูน อา / Im Yoon A / 임윤아
วันเกิด : 30 พฤษภาคม 1990 (May 30, 1990)
ตำแหน่ง : Supporting Vocalist
ภาษา : เกาหลี
ซอ ฮยอน (SeoHyun)
ชื่อจริง : ซอ จู ฮยอน / Seo Joo Hyun / 서주현
วันเกิด : 28 มิถุนายน 1991 (June 28, 1991)
ตำแหน่ง : Lead Vocalist
ภาษา : เกาหลี, ถนัดภาษาจีน